พัฒนาสมองลูกได้จริงหรือ ?
พ่อแม่หลายๆ ท่านอาจมีคำถามนี้อยู่ในใจ และไม่แน่ใจว่าสมองลูกพัฒนาได้จริงหรือไม่? ข้อความต่อไปนี้อาจตอบคำถามของท่านได้
“พ่อแม่ทุกคนช่วยสร้างสมองของลูกได้ สิ่งที่พ่อแม่ทำในช่วงห้าปีแรกของชีวิตลูกคือสิ่งสำคัญที่สุด” คุณอาจแปลกใจ เมื่อคุณพบว่าสิ่งที่คุณไม่เคยคำนึงอาจช่วยสร้างสมองให้กับลูกน้อยของคุณได้ และทำให้ลูกพัฒนาขึ้นอย่างที่คุณไม่เคยคาดคิดมาก่อน และที่สำคัญคือพ่อแม่ทุกคนทำได้
นักวิทยาศาสตร์พบว่า วัยแรกของชีวิตมีความสำคัญต่อการสร้างสมองของเด็ก สามารถช่วยให้เกิด “การเชื่อมโยง” ขึ้นในเซลล์สมองของลูก ทำให้ลูกสามารถคิด รู้สึกเคลื่อนไหว และเรียนรู้ ห้าปีเป็นโอกาสที่คุณสามารถสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นกับลูก และวางรากฐานอนาคตของลูกได้

สมองของลูก
เมื่อลูกเกิดมา เขาเกิดมาพร้อมด้วยอวัยวะทุกส่วนเหมือนผู้ใหญ่ มีหัวใจ ปอด ตับ เพียงแต่มีขนาดเล็กกว่าของผู้ใหญ่เท่านั้น ยกเว้นสมองทีมี ใช่แตกต่างกันที่ขนาดเพียงอย่างเดียว
สมองมีการเติบโต
ลองนึกภาพดูว่าคุณอาศัยอยู่ในเมืองหนึ่งที่ทุกบ้านมีเครื่องโทรศัพท์ แต่มีเพียงบางเครื่องที่มีสายต่อ คุณคิดว่าระบบโทรศัพท์จะใช้งานได้หรือไม่ และนี่คือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับสมองของเด็กแรกเกิด ระหว่างสัปดาห์ที่หกจนถึงเดือนที่ห้าของการตั้งครรภ์ สมองลูกจะเติบโตปะกอบด้วยเซลล์ 1 แสนล้านเซลล์ เซลล์เหล่านี้บางส่วนเชื่อมโยงถึงกันแล้วตั้งแต่เกิด แต่ส่วนใหญ่ยังไม่มีการเชื่อมโยง ในช่วงห้าปีแรกของชีวิตสมองของลูกจะต้องทำงานเพื่อเชื่อมโยงเซลล์เหล่านี้เข้าด้วยกัน และจะน้อยลง หลังจากช่วง 5 ปีแรกไปแล้ว
คุณเคยสังเกตไหมว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อคุณเดินไปบนพงหญ้ารกตามทางเส้นเดิมหลายๆ ครั้ง คุณทำให้เกิดทางเดินขึ้นใช่หรือไม่ และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อสมองมีการพัฒนาทุกครั้งที่เด็กใช้ส่วนหนึ่งส่วนใดของประสาทสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นการมอง การชิมรส การสัมผัส การฟังและการดมกลิ่น การเชื่อมโยงหรือการทำเส้นทางเซลล์สมองก็เกิดขึ้น เมื่อเด็กได้รับประสบการณ์ที่แตกต่างกันออกไป และประสบการณ์เหล่านี้เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า การเชื่อมโยงของเซลล์นี้ในสมองก็จะยิ่งมากขึ้น การเชื่อมโยงเหล่านี้เป็นตัวที่ทำให้เกิดความสามารถในการคิด เกิดความรู้สึก การกระทำและการเรียนรู้
เมื่อเด็กอายุประมาณ 3 ปี สมองจะสร้างการเชื่อมโยงจนมากเกินความจำเป็น เปรียบเสมือนกับเวลาที่คุณตัดกิ่งไม้ออกบ้างเพื่อช่วยให้รากแข็งแรง สมองก็เช่นกัน การเชื่อมโยงส่วนที่ไม่จำเป็นและใช้น้อยจะถูกกำจัดออกไป คงเหลือไว้เฉพาะการเชื่อมโยงที่สำคัญ
สมองซีกซ้าย สมองซีกขวา
สมองประกอบด้วย สมองซีกซ้าย และสมองซีกขวา ทำงานพร้อมๆ กัน แต่มีหน้าที่แตกต่างกัน มีบางเรื่องที่สมองซีกซ้ายเป็นผู้สั่งการอย่างเดียว หรือสมองซีกขวาสั่งการอย่างเดียว

ควบคุมและสั่งการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ความถนัดของเด็กในช่วงแรก ทำให้เกิดกำลัง ทำให้เด็กสามารถรับความรู้สึก แล้วเปลี่ยนความรู้สึกเหล่านั้นจากสิ่งที่รับ จากภาพที่เห็น จากเสียงที่ได้ยินเป็นรูปธรรมต่างๆ ได้จะทำให้เด็กรู้ว่าสิ่งที่ตนสัมผัสเป็นอย่างไร มีรูปร่างอย่างไร สมองซีกซ้ายจะทำงานที่มีรูปร่าง หรือมีการเคลื่อนไหวเป็นฐาน และต้องมีรูปธรรมชัดเจน กล่าวคือ สมองซีกซ้ายจะทำให้เด็กพูดภาษาได้ ได้ยินเสียงและเข้าใจความหมายของภาษา การเขียน เข้าใจด้านคำนวณ วิทยาศาสตร์ ความรู้ต่างๆ ที่เป็นหลักการที่ต้องใช้เหตุผล
สมองซีกขวา
ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนามธรรม จริยธรรม ความถนัดด้านดนตรี การเต้นรำ ความถนัดด้านศิลปะ งานปั้น การสร้างจินตนาการคิดฝันเป็นเรื่องเป็นราวต่างๆ การรับรู้มโนทัศน์
การพัฒนาและกระตุ้นเด็กในช่วงเวลาต่างๆ มีผลต่อการเจริญเติบโตของสมองซีกทีเดียว เช่น หากในช่วงที่สมองซ้ายและขวา การเจริญเติบโตที่แตกต่างกันของสมองซีกนี้ มีผลต่อการกำหนดอุปนิสัยใจคอของมนุษย์
Preschool program / ฝึกไปโรงเรียน
- ส่งเสริมพื้นฐานภาษาอังกฤษ
- ฝึกทักษะสมอง สอนความฉลาด 8 ด้าน (Multiple Intelligences) คือ ด้านภาษา ด้านตรรกะ-คณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านดนตรี ด้านการเคลื่อนไหว ด้านความเข้าตนเอง ด้านสังคม และด้านธรรมชาติ
- เสริมสร้างสติปัญญา และความจำระยะยาว
- ส่งเสริมการรักการอ่านหนังสือ
- เสริมสร้างความมั่นใจกล้าแสดงออก (Self-confidence)
- ฝึกสมาธิ (Focus and Concentration)
- ฝึกระเบียบวินัย
- ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
- ฝึกแก้ไขปัญหา
- ส่งเสริมเชาวน์ปัญญา
- ส่งเสริมการรักการอ่านหนังสือ
- ฝึกทักษะการฟัง และ การพูด
- เรียนรู้การปรับตัว การฟังคำสั่งกลุ่ม
- มีความภาคภูมิใจ (Sense of Success)
- มีความสุข (Happiness)
- พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและใหญ่

ทำไมจึงต้องพัฒนาสมองลูก
- ในช่วงอายุ 0-5 ปี อัตราการเรียนรู้จะสูงที่สุดในชีวิตและมากกว่าวัยใดๆ เนื่องจากสมองของลูกพัฒนาเร็วมาก (Brain Growth Spurt) ช่วงวัยจะเป็นโอกาสเดียวที่สำคัญของชีวิตในการพัฒนาศักยภาพทางสมองของลูกน้อยได้อย่างเต็มที่ และไม่สามารถย้อนเวลากลับมาได้อีก……
- เพราะรอให้ถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว
- ค้นหาอัจริยะภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวเด็กเล็ก การพัฒนาศักยภาพสมองของเด็กที่ดีที่สุดคือ การพัฒนาตามธรรมชาติ เพราะเด็กแต่ละคนมีความถนัดติดตัวมาไม่เหมือนกัน ถึงจะเป็นพี่น้อง หรือ ฝาแฝด ก็ยังแตกต่างกันได้ ซึ่งความถนัดที่ว่าคือ“อัจฉริยะภาพ”ที่นี่เบบี้ส์ จีเนียส มีกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อวัตถุประสงค์หลักคือค้นหาอัจริยะภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวเด็กเล็ก

หน้าต่างของโอกาส
นักวิทยาศาสตร์ช่วยให้เราทราบว่ามีบางเวลาสมองบางส่วนสามารถเรียนรู้เรื่องราวใหม่ ๆ ได้ง่ายกว่าเวลาอื่น พวกเขาเรียกช่วงเวลาเหล่านี้ว่า “หน้าต่างของโอกาส” หน้าต่างบางบานจะเปิดและปิดสนิท ตั้งแต่ช่วงปีแรกของชีวิต ตัวอย่างเช่น การเชื่อมโยงของเซลล์สมอง เกี่ยวกับการมองภาพ สมรรถภาพของการมองไปตลอดชีวิต ซึ่งก็หมายความว่า เด็กจะไม่สามารถมองเห็นได้อีกเลย
แม้ว่าหน้าต่างบางบานอาจมีช่วงเปิดที่นานกว่า แต่การเรียนรู้บางอย่างจะเกิดขึ้นได้ง่ายที่สุด และอย่างเป็นธรรมชาติเฉพาะในบางเวลา เราเรียกช่วงเวลาเหล่านี้ว่าช่วงวิกฤติ ตัวอย่างเช่น ห้าปีแรก เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการเรียนภาษา แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเด็กจะเรียนรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับภาษาในช่วง 5 ปีแรก การเรียนรู้ยังคงเกิดขึ้นตลอดชีวิต แต่มีบางอย่างที่เด็กเรียนรู้ได้ง่ายกว่าในบางช่วงเวลา